Whaling phishing คืออะไร

Whaling phishing หรือที่เรียกว่า Business Email Compromise (BEC) เป็นการโจมตีผ่านทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งมุ่งเป้าไปที่พนักงานระดับสูง โดยเฉพาะประธานฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเงิน เพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และส่งผลกับองค์กร   คำว่า Whaling phishing ถูกใช้เนื่องจากผู้โจมตีมักกำหนดเป้าหมายไปที่บุคคลระดับผู้บริหารขององค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ปลาใหญ่ หรือ ปลาวาฬ    การโจมตีเหล่านี้มักดำเนินการผ่านทางอีเมล แต่ก็สามารถทำได้ผ่านข้อความทางมือถือ ผู้โจมตีมักจะใช้ข้อมูลที่เผยแพร่แบบสาธารณะอยู่ในเว็บหรือสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อค้นหาเป้าหมายและสร้างข้อความที่น่าเชื่อถือขึ้นมาหลอกลวงเพื่อเข้าถึงข้อมูล     Whaling phishing อันตรายแค่ไหน  Whaling phishing อาจส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางการเงินอย่างร้ายแรงสำหรับองค์กรและบุคคลทั่วไปได้ ยิ่งถ้าเจอผู้โจมตีที่มีแรงจูงใจสูงและได้รับการสนับสนุนอย่างดี  อาจใช้กลวิธีที่ซับซ้อนเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ ในบางเคสอาจใช้มัลแวร์หรือเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรและขโมยข้อมูลสำคัญออกไป  ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีแบบ Whaling phishing สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การสูญเสียโดยตรงรวมถึงการสูญเสียทางการเงินที่เกิดจากการโอนเงินผ่านธนาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือเป็นเหตุให้เงินถูกขโมยออกไปจากบัญชี ส่วนการสูญเสียทางอ้อมอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการกู้คืนระบบหรือเครือข่าย  ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการทางกฎหมาย ค่าไกล่เกลี่ย และค่าใช้จ่ายในการจัดการแก้ไขปัญหาและความเสียหายเกิดขึ้นกับชื่อเสียงขององค์กร  ลักษณะที่อันตรายที่สุดของ Whaling phishing คือ การหลอกลวงที่เข้าถึงข้อมูลของผู้บริหาร แล้วส่งอีเมลในนามนั้นสร้างความหวาดวิตกจนเหยื่อในองก์กรคล้อยตาม มักตรวจจับได้ยากและกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว เพราะจะมีการหลอกล่อให้บุคคลเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลองค์กรผ่านการใช้เทคนิค Social Engineering การปลอมแปลงอีเมล และการพยายามปลอมแปลงเนื้อหา ตัวอย่างเช่น ผู้โจมตีวางตัวให้มีความน่าเชื่อถือ ส่งอีเมลถึงเหยื่อ รวมถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายซึ่งสร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับการโจมตีนี้  อีกวิธียอดนิยม คือ ผู้โจมตีจะส่ง URL หรือไฟล์แนบ โดยจงใจให้เหยื่อคลิก จากนั้นเครื่องของเหยื่อก็จะติดมัลแวร์ หรือผู้โจมตีทำการร้องขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน โดยใช้วิธีชักจูงให้เหยื่ออนุมัติการโอนเงินผ่านธนาคารโดยใช้เทคนิค Business Email Compromise (BEC) ในบางกรณี ผู้โจมตีจะปลอมตัวเป็น CEO หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรอื่น เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานดำเนินการโอนเงิน    บริษัทใดที่ได้รับความเสียหายจาก Whaling phishing บ้าง  บริษัทและองค์กรหลายแห่งได้รับผลกระทบจาก Whaling phishing ซึ่งส่งผลให้บางรายสูญเสียเงินหลายล้านดอลลาร์ ตัวอย่างร้ายแรงที่บางบริษัทได้รับผลกระทบนั้นได้แก่  UGL Limited บริษัทวิศวกรรมในเครือของออสเตรเลียได้สูญเสียเงิน 40 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (28.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากการโจมตีผ่านทางอีเมล (BEC) ในปี 2019  เมืองโอเชียนไซด์ในแคลิฟอร์เนียสูญเสียเงิน 3.3 ล้านดอลลาร์จาก Whaling phishing ในปี 2018  บริษัทภาพยนตร์สัญชาติยุโรป Pathé ถูกโจมตีและสูญเสียเงินจำนวน 21.5 ล้านดอลลาร์จากการโจมตีแบบ Whaling phishing ส่งอีเมลปลอมถึง CEO และ CFO พร้อมคำขอสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นความลับ แม้จะดูเหมือนเป็นสัญญาณเตือนว่าผิดปกติ แต่ CEO และ CFO ก็โอนเงินราวๆ 800,000 ดอลลาร์ให้กับผู้โจมตี เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2018  เกิดข่าวใหญในปี 2016 พนักงานของ Seagate ส่งอีเมลข้อมูลภาษีเงินได้ของพนักงานทั้งในอดีตและปัจจุบันไปยังบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต หลังจากรายงานการหลอกลวงแบบ phishing กับ Internal Revenue Service (IRS) และ FBI แล้ว มีการประกาศว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้คนหลายพันคนถูกเปิดเผยในการโจมตีครั้งนั้นด้วย   PwC บริษัทผู้ให้บริการระดับมืออาชีพระดับโลก รายงานว่าการโจมตี BEC และ EAC (Email Account Compromise การโจมตีและแฮกบัญชีเป็นรายบุคคล) ทำให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินถึง 5.3 พันล้านดอลลาร์ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2016    ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีบริษัทใดรอดพ้นจากการโจมตีแบบ Whaling phishing และสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ องค์กรโดยไม่คำนึงถึงขนาดหรือประเภทอุตสาหกรรม      วิธีป้องกัน Whaling phishing สำหรับองค์กร  การป้องกันการโจมตีแบบ Whaling phishing อาจต้องใช้ทั้งมาตรการทางเทคนิคและแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สามารถทำได้ดังนี้  1. ใช้การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย  กำหนดให้พนักงานแสดงการยืนยันตัวตนหลายรูปแบบ เช่น รหัสผ่านและลายนิ้วมือหรือรหัสที่ส่งไปยังอุปกรณ์มือถือ สามารถช่วยป้องกันการเข้าถึงบัญชีอีเมล และระบบที่ละเอียดอ่อนอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต    2. ใช้การกรองและตรวจสอบอีเมล  ใช้เครื่องมือกรองและตรวจสอบอีเมลเพื่อตรวจหาและบล็อกอีเมลที่น่าสงสัย รวมถึงอีเมลที่มีมัลแวร์หรือลิงก์ฟิชชิง    3. ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับความตระหนักด้านความปลอดภัย  จัดให้มีการฝึกอบรมความตระหนักด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอแก่พนักงาน เพื่อช่วยให้พวกเขาระบุและหลีกเลี่ยงความพยายามในการโจมตี สิ่งสำคัญคือพนักงานต้องเข้าใจว่า การพยายามฟิชชิงมีลักษณะอย่างไรและควรจะรายงานเหตุการณ์นี้อย่างไร     4. ใช้กระบวนการที่เข้มงวดในการโอนเงินผ่านธนาคาร  ตั้งค่ากระบวนการและขั้นตอนที่เข้มงวดสำหรับการโอนเงินผ่านธนาคารขององค์กร เช่น ต้องมีการยืนยันด้วยวาจา คำขอโอนเงินผ่านธนาคาร และการใช้กระบวนการอนุญาตร่วมกัน    5. ตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ  ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบและเครือข่ายของบริษัทของคุณเป็นประจำ เพื่อระบุและแก้ไขช่องโหว่     6. มีแผนสำรองเพื่อรับมือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน  ควรมีแผนรับมือเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นและตรวจสอบให้แน่ใจว่า พนักงานทุกคนรู้ว่าต้องทำอย่างไรในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยขึ้น     สิ่งที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ของอีเมล phishing สามารถสังเกตได้จาก:  ชื่อที่แสดงหรือชื่อโดเมนที่สะกดแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากชื่ออีเมลที่เชื่อถือ  ภาษาและเนื้อหาอีเมลอาจจะมีคำสะกดผิด มี Link ที่น่าสงสัย และประกอบด้วยคำขอให้โอนเงินหรือขอข้อมูลภายในองค์กร  อายุโดเมนไม่ตรงกับอายุโดเมนของผู้ติดต่อที่เชื่อถือได้    การป้องกันการโจมตีแบบ Whaling phishing เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง และควรอัปเดตการควบคุมความปลอดภัยของคุณเป็นประจำ ด้วยการทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อปกป้องความเสียหาย และช่วยลดความเสี่ยงของการโจมตีที่อาจเกิดขึ้น  สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรคือ ต้องมีนโยบายความปลอดภัยที่รัดกุม มีการสื่อสารที่ดี จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอแก่พนักงาน และระมัดระวังเกี่ยวกับอีเมลที่น่าสงสัยหรือคำขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เพื่อช่วยเสริมเกราะป้องกันอีกชั้นต่อการโจมตีประเภทนี้    อ้างอิงจาก www.cyfence.com  The post Whaling phishing คืออะไร appeared first on Aware Group.

prejsť na článok

รู้จัก Phishing 10 ประเภทที่แบ่งตามรูปแบบการโจมตี

  ปัจจุบันการโจมตีแบบ Phishing มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เราจึงรวบรวมรูปแบบที่น่าสนใจมาไว้ที่นี่ค่ะ    Phishing Email การส่งอีเมลออกครั้งละจำนวนมากแบบ “Spray and Pray” โจมตีแบบไม่เจาะจงไปที่เหยื่อรายไหนหรือกลุ่มใดเป็นพิเศษ ใช้คำในข้อความกระตุ้นเพื่อ

prejsť na článok

ChatGPT – เปิดมุมมองใหม่ ของแนวทางการทำงานในอนาคต

แปลภาษาไทยโดย: Vinai Tiempitak ในขณะที่ปี 2022 กำลังจะสิ้นสุดลง ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ทำให้เราสงสัยกันว่า ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร และแล้วการเปิดตัวของ OpenAI ChatGPT ทำให้เราเชื่อว่าจะมีผลกระทบอย่างมากต่อวิธีการทำงานในอนาคต  โดยเฉพาะอย่างยิ

prejsť na článok

การเดินทางของ Web 3.0 ในปัจจุบันเป็นอย่างไร 

ทราบหรือไม่ว่ายุค Web 3.0 กำลังเขยิบเข้ามาใกล้เราอีกนิดแล้ว หลายคนอาจจะงงว่า แล้ว 1.0 และ 2.0 คืออะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ เรามาถึงตรงนี้ได้อย่างไร ก่อนอื่นเราจะพาย้อนกลับไปว่า วิวัฒนาการในการใช้เว็บไซต์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง    ช่วงแรก Web 1.0 (ปี 1990 – 2000) 

prejsť na článok

Google Workspace เครื่องมือทำงานที่ทุกองค์กรควรใช้ 

  Google Workspace คือ บริการหนึ่งของ Google ที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลไว้บน cloud ภายหลังการรีแบรนด์จากชื่อเดิม G Suite มาเป็น Google Workspace เครื่องมือนี้เองทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยแอปพลิเคชั่นที่มีมากถึง 18 แอปพลิเคชันที่จะช่วยใ

prejsť na článok

กำจัด Digital Footprint ได้ง่าย ๆ ภายใน 5 นาที ด้วย Smart Data Assistant

ปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าคุณจะดูหนัง ฟังเพลง พูดคุย สั่งอาหาร หรือทำอะไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่จะต้องมีโลกออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องในเกือบทุก ๆ กิจกรรมไม่มากก็น้อย ซึ่งการเข้าสู่โลกออนไลน์ในแต

prejsť na článok