รู้จัก Phishing 10 ประเภทที่แบ่งตามรูปแบบการโจมตี

  ปัจจุบันการโจมตีแบบ Phishing มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เราจึงรวบรวมรูปแบบที่น่าสนใจมาไว้ที่นี่ค่ะ    Phishing Email การส่งอีเมลออกครั้งละจำนวนมากแบบ “Spray and Pray” โจมตีแบบไม่เจาะจงไปที่เหยื่อรายไหนหรือกลุ่มใดเป็นพิเศษ ใช้คำในข้อความกระตุ้นเพื่อหลอกลวงให้เหยื่อคลิกลิงก์ที่แนบมา  สิ่งที่ควรสังเกต : มักใช้คำเหล่านี้ เรียน เจ้าของบัญชี ด่วนที่สุด ลับเฉพาะ ฯลฯ   Spear Phishing การหลอกลวงด้วยการพุ่งเป้าเจาะจงไปที่เหยื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชัดเจน เริ่มจากการล้วงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อแล้วส่งอีเมลที่เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงและสร้างความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ต้องดูให้ดีก่อนคลิกลิงก์ดังกล่าว  สิ่งที่ควรสังเกต : อาจใช้อีเมลที่มีชื่อคล้าย ๆ กับคนในองค์กร   Whaling Phishing การโจมตีมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีตำแหน่งอยู่ในระดับสูง โดยในเนื้อหาอีเมลจะสร้างความหวั่นวิตกขั้นรุนแรง เช่น อ้างว่าส่งจากหมายศาล อ้างว่าทำผิดกฎหมาย ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน หรือขอให้เหยื่อกระทำการบางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจ  สิ่งที่ควรสังเกต :  ภาษาและเนื้อหาอีเมล อาจจะมีคำสะกดผิด มี Link ที่น่าสงสัย และประกอบด้วยคำขอให้โอนเงินหรือขอข้อมูลภายในองค์กร    Vishing Phishing การหลอกลวงผ่านรูปแบบของเสียง (Voice + Phishing) หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อเรียก “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” นั่นเอง โดยอาชญากรจะอ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรใดองค์กรหนึ่ง และหลอกขอข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ทางที่ดี เมื่อได้รับสายจากอาชญากรเหล่านี้ควรวางสายทันที  สิ่งที่ควรสังเกต : เบอร์แปลกโทรเข้ามาอ้างตัวเป็นองค์กรที่บอกให้คุณต้องไปทำธุรกรรมทางการเงินกับปลายสาย  Smishing Phishing การฟิชชิ่งทาง SMS นั่นเอง โดยอาชญากรจะเขียนข้อความสั้น ๆ ที่โน้มน้าวให้เหยื่อคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม   สิ่งที่ควรสังเกต :  มักจะอ้างว่า ยินดีด้วย! คุณถูกรางวัล หลอกให้เรากรอกข้อมูลเพื่อให้ได้สิทธิ์รับรางวัล  Angler Phishing การโจมตีที่เฝ้าจับตามองพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของเหยื่อ และสวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่มาหลอกว่าจะแก้ปัญหาให้ โดยส่งลิงก์ให้กรอกข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเพื่อรับการแก้ไขปัญหาการให้บริการ   สิ่งที่ควรสังเกต : เมื่อเราบ่นลงทวิตเตอร์ ใครมาตอบเรา อาชญากรหรือไม่   CEO Fraud Phishing เป้าหมายของอาชญากรจะเป็นบุคคลระดับสูง แต่ระดับการโจมตีจะรุนแรงกว่า Whaling Phishing มาก โดยจะปลอมตัวเป็นบุคคลสำคัญ/ CEO แล้วส่งอีเมลให้แก่คนในบริษัท เพื่อขอให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลสำคัญ หรือโอนเงินให้ในทันที เป็นต้น  สิ่งที่ควรสังเกต :  ชื่ออีเมลที่คุ้นเคย เขียนเนื้อหาประกอบด้วยคำขอข้อมูลสำคัญ  Search Engine Phishing เว็บไซต์ค้นหาปลอมหลอกให้เราเข้าให้เว็บไซต์อันใดอันหนึ่งเยอะ ๆ เพื่อเอา ranking หรือการสร้างเว็บไซต์หลอกหลวงที่ยื่นเสนอผลประโยชน์ให้แก่เรา เช่น ส่วนลด คูปองแจกของฟรี หรือประกาศรับสมัครงาน   สิ่งที่ควรสังเกต : URL ของเว็บไซต์ปลอมที่ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริงแต่จะสะกดผิด และส่วนใหญ่จะเป็น HTTP แทนที่จะเป็น HTTPS   Pop-up Phishing  ป๊อปอัปหลอกที่บอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ให้เราคลิกน์โหลดไฟล์เหล่านี้เพื่อแก้ไขสถานการณ์ แต่แท้จริงแล้วเป็นป็อปอัปให้เราดาวน์โหลดมัลแวร์เข้ามาขโมยข้อมูลจากเครื่องของเรา  สิ่งที่ควรสังเกต : ป็อปอัปที่มักเขียนว่า เครื่องของคุณโดนไวรัส หรือ เครื่องคุณทำงานช้าอยู่หรือไม่  Man-in-the-Middle (MTM) Attacks  การหลอกที่อ้างว่าเป็นเว็บไซต์ตัวกลางที่ให้บริการระหว่างธุรกิจกับผู้ใช้ มาหลอกให้เราใส่ข้อมูลและรหัสผ่านที่เรามักใช้เพื่อเข้าไปใช้บริการจากธุรกิจนั้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการขอข้อมูลละเอียดอ่อนด้านธุรกรรม  สิ่งที่ควรสังเกต : ชื่อลิงก์ถูกต้องหรือไม่ ขึ้นต้นด้วย https หรือไม่ ถ้าไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่ควรดำเนินการต่อ    สรุปได้ว่า Phishing คือ ภัยคุกคามที่หลอกล่อให้เหยื่อคลิกลิงก์ไปที่หน้าเว็บไซต์ปลอม ที่ให้เราใส่ข้อมูลส่วนบุคคล รหัสผ่าน และนำไปสู่การขโมยข้อมูล โดยเฉพาะในเรื่องธุรกรรมทางการเงิน โดยมี URL ของเว็บไซต์เริ่มต้นด้วย HTTP แทนที่จะเป็น HTTPS หากได้รับข้อความที่มีลักษณะคล้ายที่กล่าวไปนี้่ ควรเช็กให้ดีก่อนว่าเว็บไซต์นั้นไว้ใจได้หรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกคุกคามบนโลกไซเบอร์ให้น้อยที่สุด    อ้างอิงจาก : www.fortinet.com    The post รู้จัก Phishing 10 ประเภทที่แบ่งตามรูปแบบการโจมตี appeared first on Aware Group.

prejsť na článok

Whaling phishing คืออะไร

Whaling phishing หรือที่เรียกว่า Business Email Compromise (BEC) เป็นการโจมตีผ่านทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งมุ่งเป้าไปที่พนักงานระดับสูง โดยเฉพาะประธานฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเงิน เพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และส่งผลกับองค์กร   คำว่า Whaling phishing ถูกใช้เนื

prejsť na článok

Google Workspace เครื่องมือทำงานที่ทุกองค์กรควรใช้ 

  Google Workspace คือ บริการหนึ่งของ Google ที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลไว้บน cloud ภายหลังการรีแบรนด์จากชื่อเดิม G Suite มาเป็น Google Workspace เครื่องมือนี้เองทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยแอปพลิเคชั่นที่มีมากถึง 18 แอปพลิเคชันที่จะช่วยใ

prejsť na článok

Bezpečná práca z domu

Bezpečná práca z domuPráca z domu môže byť pre vás nová, alebo s ňou už máte skúsenosti. Bez ohľadu na to však teraz väčšina z nás musí zostať doma, aby mohla pracovať. O tom niet pochýb, že sú to nešťastné časy. Teraz sme všetci v tom istom chaose a všet

prejsť na článok

Bitdefender se umístil na 1. místě v testu VBSpam za Q4 2022

Technologie zabezpečení elektronické pošty společnosti Bitdefender byla opět certifikována ve všech srovnávacích testech prováděných premiérovou online publikací Virus Bulletin. Virus Bulletin každé čtvrtletí provádí test VBSpam, který měří výkonnost řeš

prejsť na článok

Proč by všechny společnosti měly investovat do vícevrstvého zabezpečení

K útokům na zabezpečení vaší společnosti může dojít mnoha různými způsoby. V minulosti byla kybernetická bezpečnost jednodušší a bylo snazší útokům předcházet. Bylo to podobné jako ochrana vstupních dveří vašeho domu. Díky správným zámkům jste mohli zabrá

prejsť na článok